remawadee g+blog remawadeeremawadee twitterremawadee facebook


เที่ยว 5 ภาค
ภาคเหนือ
+ เชียงใหม่
+พระธาตุดอยตุง 
+โป่งน้ำร้อนท่าปาย
+แม่ฮ่องสอน 
+พระธาตุจองปิง ลำปาง
+เขาค้อ เพชรบูรณ์
+ภุหินร่องกล้า+พิษณุโลก
+วัดเขาวัง อุทัยธานี 
+ถ้ำแม่อุสุ อุตรดิตถ์
+น้ำตกทีลอซู ตาก
+โมโกจู กำแพงเพชร
RemaHealth

ภาคอีสาน
+มอหินขาว ชัยภูมิ
+ภูหลวง เลย
+นครพนม 
+ร้อยเอ็ด
+ภูผาเทิบ มุกดาหาร
+วิหารพระไตรปิฏก+โคราช
+ปราสาทหินพนมรุ้ง
+บุรีรัมย์  เซราะกราว
+ภูทอก บึงกาฬ
+9000 โบก
+อุบลราชธานี
อุดรธานี

ภาคตะวันออก
+เขาคิชฌกุฏ
+จันทบุรี
+เกาะกูด ตราด
+ชลบุรี
+หาดทรายแก้ว ระยอง


ภาคกลาง
+วัดพระแก้ว กรุงเทพฯ
+เขาช้างเผือก
+กาญจนบุรี
+ฉะเชิงเทรา  
+ชัยนาท วัดพะแก้ว
+ลพบุรี  
+นครนายก
+นครปฐม
+เจดีย์หอย ปทุมธานี
+ดูเหยี่ยว 360องศา
+ประจวบคีรีขันธ์
+อยุธยา
+โป่งยุบ ราชบุีรี
+สุพรรณบุรี
+สระบุรี
+สระแก้ว
+พระนครคีรี เพชรบุรี
+สมุทรปราการ
+สมุทรสงคราม
+สมุทรสาคร

ภาคใต้
+สุสานหอย  กระบี่ 
+พญานาค  สงขลา
+ปะการังเทียม ตรัง 
+ป่าเฟิร์นโบราณ นครฯ
+เกาะเต่า
+สุราษฎร์ธานี
+ป่าฮาลาบาลา 
+ระนอง
+พัทลุง
+หมู่เกาะสิมิลััน พังงา
+หาดป่าตอง  ภูเก๊ต
+เกาะหลีเป๊ะ สตูล

คอลัมน์ท่องเที่ยว
+คู่มือดูนก บ้านนก
+ปีนเขาที่ไร่เลย
+
พระพุทธรูปสี่มุมเมือง
+
ตักบาตรเทโว
+เรือหัวโทง
อ่านบทความอื่น

ข้อมูลท่องเที่ยว
พยากรณ์อากาศ
แผนที่ประเทศไทย

สถานที่ท่องเที่ยวไทย  unseen thailand  Amazing Thailand
Custom Search

สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย เที่ยว 5 ภาค อร่อยทั่วไทย
unseen thailand
สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

โขน - ศาสตร์ และศิลป์แผ่นดินไทย

โขน นำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าทางการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำ
ท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และ
เพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน ซึ่งเป็น
เครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น แสดงอารมณ์ผ่านทางการ
ร่ายรำ สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่นตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทอง
ประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน

ในสมัยโบราณ โขนนั้นตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวม
หัวโขน คงใช้ใบหน้าจริงเช่นเดียวกับละคร แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัย
โบราณมักมีสองสีคือ สีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทนเกราะ เป็นลายหนุนประเภทลายพุ่ม หรือลาย
กระจังตาอ้อย ส่วนเครื่องแต่งกายตัวลิงจะเป็นลายวงทักษณาวรรต โดยสมมุติเป็นขนของลิงหรือหมี ดำเนินเรื่องด้วย

การกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็นทำองเรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง 
โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้ ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง
นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุท ปัจจุบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีหน้าที่หลักในการสืบทอดการฝึกหัดโขน และ
กรมศิลปากร มีหน้าที่ในการจัดการแสดงประเภทของโขน แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ

๑  โขนกลางแปลง
๒  โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว
๓  โขนหน้าจอ
๔  โขนโรงใน
๕  โขนฉาก

ีการจัดแสดงโขนพระราชทาน
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงรับสั่งให้มีการจัดการแสดง
โขน
ขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการอนุรักษ์ โขน
วิจิตรนาฏศิลป์ไทยให้คงอยู่สืบไป ได้จัดการแสดง
โขน รามเกียรติ์ มาเป็นปีที่ 7แล้ว รวม 5 ชุดด้วยกัน
ได้แก่
ปี พ.ศ.2551-2 ชุด "ศึกพรหมาศ"
ปี พ.ศ.2553 ชุด "นางลอย
ปี พ.ศ.2554 ชุด "ศึกมัยราพณ์"
ปี พ.ศ.2555 ชุด "จองถนน
ปี พ.ศ.2556 ชุด "ศึกกุมภกรรณ ตอน โมกขศักดิ์"
และในปี 2557 ชุด "ศึกอินทรชิต ตอน นาคบาศ"

 

โขน ชุด "ศึกอินทรชิต ตอน นาคบาศ" 2557


โขน - ศาสตร์ และศิลป์แผ่นดินไทย
ในสมัยโบราณ โขน เป็นการแสดงสำหรับเจ้านายชั้นสูงเท่านั้น ในปัจจุบันถือว่าโชคดีที่มีโอกาสได้ชมโขน ถึงแม้ว่าเราจะ
ไม่ได้เป็นชนชั้นสูงก็ตาม ซึ่งก็ถือว่าเรื่องที่ดีที่เราจะได้ร่วมกันอนุรักษ์โขนอันเป็นศาสตร์และศิลป์แผ่นดินไทย ด้วยความ
ภาคภูมิใจในความเป็นไทยของเรา ทุกปีมีการจัดแสดงโขนพระราชทาน นอกจากจะได้ชมการแสดงโขนในแบบดั้งเดิม
แล้ว ยังได้ชมเทคนิคต่างๆที่เพิ่มอรรถรสให้มากยิ่งขึ้น ร่วมถึงฉากหลัง แสงสีเสียงอันตระการตา นักแสดงนับร้อยๆคนเลย
ทีเดียว ถ้ามีโอกาสก็อยากเชิญชวนทุกท่านให้ไปชมการแสดงโขนอันเป็น ศาสตร์ และศิลป์แผ่นดินไทย เพื่อให้คงอยู่
ไปนานเท่านาน.

จองที่พักออนไลน์ทั่วไทย