remawadee g+blog remawadeeremawadee twitterremawadee facebook


เที่ยว 5 ภาค
ภาคเหนือ
+เชียงใหม่
+เชียงราย
+แม่ฮ่องสอน 
+ลำปาง
+ลำพูน
+น่าน
+แพร่
+พะเยา
+เพชรบูรณ์
+พิษณุโลก
+อุทัยธานี 
+อุตรดิตถ์
+ตาก
+กำแพงเพชร
+สุโขทัย
+พิจิตร

RemaHealth

ภาคอีสาน
+ชัยภูมิ
+เลย
+นครพนม 
+ร้อยเอ็ด
+มุกดาหาร
+โคราช
+บุรีรัมย์  
+บึงกาฬ
+ุบลราชธานี
+อุดรธานี
+สุรินทร์
อ่านเพิ่ม

ภาคตะวันออก
+เขาคิชฌกุฏ
+จันทบุรี
+ตราด
+ชลบุรี
+ระยอง


ภาคกลาง
+กรุงเทพฯ
+กาญจนบุรี
+ฉะเชิงเทรา  
+ชัยนาท
+ลพบุรี  
+นครปฐม
+ปทุมธานี
+ประจวบคีรีขันธ์
+อยุธยา
+ราชบุีรี
+สุพรรณบุรี
+สระบุรี
+นครนายก
+สระแก้ว
+ปราจีนบุรี
+เพชรบุรี
+สมุทรปราการ
+สมุทรสงคราม
+สมุทรสาคร
ภาคใต้
+กระบี่ 
+ชุมพร
+สงขลา
+ตรัง 
+นครศรีฯ
+สุราษฎร์ธานี
+นราธิวาส   
+ระนอง
+พัทลุง
พังงา
+ ภูเก๊ต
+ สตูล

คอลัมน์ท่องเที่ยว
+คู่มือดูนก บ้านนก
+ปีนเขาที่ไร่เลย
+
นกนางแอ่น
+
ตักบาตรเทโว
+เรือหัวโทง
อ่านบทความอื่น

ข้อมูลท่องเที่ยว
พยากรณ์อากาศ
แผนที่ประเทศไทย

สถานที่ท่องเที่ยวไทย  unseen thailand  Amazing Thailand
Custom Search
สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย เที่ยว 5 ภาค อร่อยทั่วไทย unseen thailand
พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย

เนื่องจากเมื่อวันที่ 19 ต.ค.2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล
อดุลยเดช ทรงอำนวยการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ครั้งแรกของโลกด้วยพระองค์เอง
ณ เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และฝนตกลงตามเป้าหมายอย่างแม่นยำ แม้
การทำฝนเทียมจะเริ่มขึ้นในต่างประเทศ แต่พระองค์ทรงมีเทคนิคการทำฝนเทียม
เป็นแบบฉบับเฉพาะของพระองค์เอง


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำความรู้ทางสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโน
โลยีในทุกสาขาวิชามาใช้ในการพัฒนา ทุกแขนง ทรงมุ่งให้เกิดการพัฒนาคนให้
อยู่ได้ด้วยการพึงตนเองเป็นสำคัญ ทุก ๆ โครงการที่มีพระราชดำริและประทาน
ให้แก่ประชาชน ล้วนมีวิธีดำเนินการได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซ้ำซ้อน มีความสอดคล้อง
กับระบบนิเวศโดยรวมของธรรมชาติ และสภาพสังคมของชุมชนนั้น ๆ ไม่ทรง
ปิดกั้นเทคโนโลยีใหม่จากต่างประเทศ

แต่ทรงเน้นว่าจะต้องเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์มาปรับปรุงใช้ได้ดีพอ เหมาะ
กับสภาพและฐานะของประเทศ โดยเน้นที่ประสิทธิภาพ ประหยัดและการทุ่มแรงงาน
เทคโนโลยีที่ทรงนำมาใช้ในการพัฒนานั้นมีหลายด้าน อาทิ

ด้าน การเกษตร
ด้าน การเกษตร ทรงเน้นเรื่องการค้นคว้าทดลอง วิจัยพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ชนิดต่าง ๆ
ตลอดจนการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช การศึกษาสภาพของดิน และพัฒนาให้
สามารถทำการเกษตรได้ ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่แนะนำให้เกษตรกร นำไปปฏิบัติได้
ด้วยราคาถูกและใช้ เทคโนโลยีที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริ เสริมสร้าง สิ่งที่ชาวบ้านชนบทขาด
แคลนและต้องการ คือความรู้ในด้านเกษตรกรรมและการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่
เหมาะสม ดังนั้นใน พ.ศ. 2525 จึงได้พระราชทานพระราชดำริ ให้ตั้งศูนย์
การศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริขึ้นตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ
เพื่อให้ความรู้ราษฎรให้สามารถนำไปปฏิบัติต่อได้

ฝนหลวง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงศึกษาค้นคว้าและทรงคิดค้นเทคนิควิธี หรือเทค
โนโลยีใหม่ ๆ หลายวิธีการ เช่น โครงการ "ฝนหลวง" แนวพระราชดำริการบริหาร

แกล้งดิน
จัดการที่ดินเพื่อการเกษตร "ทฤษฏีใหม่" แนวพระราชดำริการแก้ไขปัญหาดิน
เปรี้ยวจัด "แกล้งดิน" แนวพระราชดำริ การป้องกันการเสื่อมโทรมและการพัง

หญ้าแฝก
ทลายของดินโดย "หญ้าแฝก" แนวพระราชดำริ การปลูกป่าแบบไม่ต้องปลูก
แนวพระราชดำริ "ป่าเปียก" เพื่อความชุ่มชื้นของดินและเป็นแนวป้องกันไฟป่า
และแนวพระราชดำริพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ "ฝายชะลอความชุ่มชื้น"

การพัฒนาแหลงน้ำ
การพัฒนาแหลงน้ำ ได้พระราชทานพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ นำไป
พิจารณาและดำเนินการก่อนสร้างแหล่งน้ำ 5 ประเภท คือ
1. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภค
2. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร
3. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
4. โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม
5. โครงการบรรเทาอุทกภัย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงค้นคว้า ทดลอง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการ
บริหารจัดการน้ำ ทรงนำเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยุสื่อสสาร ดาวเทียม และ
คอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนสามารถช่วยเหลือ
เกษตรกรใน ภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงอีกทั้งยังเพิ่มปริมาณน้ำฝนให้แก่
อ่างและเขื่อน เก็บกักน้ำเพื่อการชลประทาน และการผลิกกระแสไฟฟ้า

การป้องกันน้ำท่วม "แก้มลิง"
การป้องกันน้ำท่วม พระราชทานพระราชดำริให้มีการก่อสร้าง คันน้ำ หรือผนัง
เลียบลำน้ำนอกจากนั้นยังได้พระราชทานการก่อสร้างทางผันน้ำ ขุดลอกตกแต่ง
ลำน้ำ นอกจากนั้นได้พระราชทานแนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล คือ โครงการ "แก้มลิง" โดยการขุดลอก
คลองต่าง ๆ เพื่อชักน้ำให้มารวมกันแล้วนำมาเก็บไว้ในบ่อพักน้ำอันเปรียบได้
กับแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเล เมื่อปริมาณน้ำทะเลจะลดลง

สิ่งแวดล้อม"การบำบัดน้ำเสีย"
สิ่งแวดล้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริ ใน
การบำบัดน้ำเสียโดยอาศัยวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีหลายวิธี
การ เช่น โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย สระเติมอากาศ ชีวภาพบำบัด การบำบัดน้ำ
เสียด้วยวิธีการเติมอากาศ

เทคโนโลยี สารสนเทศ
เทคโนโลยี สารสนเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำเทคโนโลยีสาร
สนเทศ มาใช้ในการทรงงานต่าง ๆ โดยพระราชทานพระราชดำริ ให้กรมแผน
ที่ทหาร จัดทำแผนที่ชนิดต่าง ๆ ถวาย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องของพื้นที่นั้น ๆ
มาประกอบพระราชดำริ ในการเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎร ทรงใช้เครื่องมือสื่อ
สารพกติดพระองค์เสมอ เพื่อความรวดเร็วในการติดต่อประสานงาน ในอันที่
จะบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาขนได้ทันท่วงที

ใน พ.ศ. 2495 พระองค์ได้ทรงจัดตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้นในพระราช
วังสวนดุสิต ต่อมาจึงย้ายไปตั้งในบริเวณพระตำหนังจิตลดารโหฐาน พระราชประสงค์
ที่ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส.คือให้พสกนิกรมีโอกาสติดต่อกับพระองค์ได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้สถานีวิทยุยังทำหน้าที่ เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์
กรรมจากภัยพิบัติต่าง ๆ

คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ ทรงคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
ด้วยพระองค์เอง ทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนพระราช
กรณียกิจต่าง ๆ และทรงประดิษฐ์ ส.ค.ส. เผยแพร่ทางสื่อมวลชน ทรง
ประดิษฐ์ตัวอักษรไทยหลายแบบและทรงใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียบเรียงเสียง
ประสานและพิมพ์โน้ตเพลงสำหรับเครื่องดนตรีแต่ละชนิด เป็นต้น

ศาสนา
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2534 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาค
ทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1,472,900 บาท ให้มหาวิทยาลัยมหิดล
จัดทำโครงการพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและ
อรรถกถา

พลังงานทดแทน
ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อรองรับ
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการพึ่งพาพลังงานนำเข้า จึงมีพระราชดำริให้เตรียม
รับกับปัญหาด้านพลังงานมากว่า ๔๐ ปี เมื่อ พ.ศ. 2540 ทรงมีพระ
ราชดำริให้นำพืชผลการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน เพื่อให้คนไทย
พึ่งตัวเองได้ รวมทั้งรองรับปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำที่อาจจะเกิดขึ้น
โครงการพัฒนาพลังงานทดแทนมีอาทิ

1. การพัฒนาแก๊สโซฮอล์ ใน พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชดำรัสให้ศึกษา
การผลิตเอทานอลจากอ้อยเพื่อแก้ปัญหาภาวะขาดแคลน น้ำมันและราคาอ้อยตกต่ำ
ได้มีการปรับปรุงคุณภาพและกำลังการผลิตเอทานอลอย่างต่อเนื่อง โดยได้ปรับปรุง
ความบริสุทธิ์ของเอทานอลจาก 95% ให้มีความบริสุทธิ์99.5% และได้ทด
ลองผสมเอทานอลด้วยสัดส่วน 10 % ในน้ำมันเบนซิน ซึ่งใช้ได้ผลและเมื่อวันที่
16 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 บริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยจำกัด
(มหาชน) ได้น้อมเกล้าฯ ถวายสถานีบริการแก๊สโซฮอล์เพื่อให้บริการแก่รถยนต์
ที่ใช้ในโครงการส่วน พระองค์สวนจิตรลดา

2. ผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืช เพื่อใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล โดยทรงมีพระราช
ดำริให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กที่สหกรณ์
นิคมอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานสกัดน้ำมัน
ปาล์มบริสุทธิ์ขนาดเล็ก ที่ศูนย์การพัฒนาศึกษาพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราช
ดำริ จังหวัดนราธิวาส

ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทอง
ต่อมาใน พ.ศ. 2543 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้กองงานส่วนพระองค์
ดำเนินการวิจัยและพัฒนาพร้อม ทดลองน้ำมันปาล์มกับเครื่องยนต์ดีเซลของกองงาน
ส่วนพระองค์ที่วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์
คิดค้นโครงการพัฒนาน้ำมันปาล์มเพื่อใช้กับ เครื่องยนต์ดีเซลนี้ ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ
ถวายรางวัลเหรียญทองใน โครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม ซึ่งสำนัก
งานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้นำไปจัดแสดงในงาน "Brussels
Eureka ๒๐๐๑" ซึ่งเป็นนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติประจำปี ๒๕๔๔ ณ
กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม อักทั้งโครงการดังกล่าวยังได้รับสิทธิบัตรในพระปรมา
ภิไธยจากกระทรวงพาณิชย์

นอกจากนี้ยังมีโครงการตามพระราชดำริในเรื่องพลังงานทดแทนอื่น ๆ อีก เช่น การผลิต
ดีโซฮอล์ซึ่งเป็นการผลิตเชื้อเพลิง จากการผสมเอทานอลกับน้ำมันดีเซล ผลการทดลอง
พบว่าสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ และลดควันดำถึง50%

หรือพระราชดำริให้โครงการส่วนพระองค์สวน จิตรลดาทดลองผลิตแก๊สชีวภาพจากมูล
โคนม ซึ่งได้ก๊าซมีเทนที่เป็นก๊าซติดไฟกว่า 50% และก๊าซอื่น ๆ ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้

รางวัลหญ้าแฝกชุบสำริด
ในการที่ทรงนำเทคโนโลยีความรู้ต่าง ๆ มาใช้ในการแก้ไขปัญหาเพื่อประโยชน์
สุขของราษฎร ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้อันเป็นที่ประจักษ์
แก่ชาวไทยและนานาประเทศทั่วโลก เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
นาย Richard G. Grimshaw หัวหน้าสาขาวิชาเกษตร ฝ่าย
วิชาการภูมิภาคเอเชียของธนาคารโลก ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลหญ้าแฝกชุบสำริด
เพื่อเฉลิมพระเกียรติในความสัมฤทธิ์ผล ทางด้านวิชาการและการพัฒนา ในการส่ง
เสริมเทคโนโลยีการปลูกหญ้าแฝก ในระดับระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ ดินและ
น้ำทำให้พสกนิกรไทยซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ จึงพร้อมใจกันเทิดพระเกียรติ
พระองค์ท่านให้ทรงเป็น "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย"

ทั้งนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียง ตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น ยังมีวิทยาการและ
เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ทรงใช้ในการพัฒนาอีกจำนวนมาก เช่น ด้านการคมนาคมและ
การสื่อสาร ด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ตลอดจนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติ เป็นต้น

ข้อมูลจาก กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ เรารักในหลวง.คอม

จองที่พักออนไลน์ทั่วไทยโครงการพระราชดำริของในหลวง สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย