remawadee g+blog remawadeeremawadee twitterremawadee facebook


เที่ยว 5 ภาค
ภาคเหนือ
+ เชียงใหม่
+ เชียงราย
+แม่ฮ่องสอน 
+ลำปาง
+เพชรบูรณ์
+พิษณุโลก
+อุทัยธานี 
+อุตรดิตถ์
+ตาก
+กำแพงเพชร
RemaHealth

ภาคอีสาน
+ชัยภูมิ
+เลย
+นครพนม 
+ร้อยเอ็ด
+มุกดาหาร
+โคราช
+บุรีรัมย์  
+บึงกาฬ
+ุบลราชธานี
+อุดรธานี
+สุรินทร์

ภาคตะวันออก
+เขาคิชฌกุฏ
+จันทบุรี
+ตราด
+ชลบุรี
+ระยอง


ภาคกลาง
+กรุงเทพฯ
+กาญจนบุรี
+ฉะเชิงเทรา  
+ชัยนาท
+ลพบุรี  
+นครปฐม
+ปทุมธานี
+ประจวบคีรีขันธ์
+อยุธยา
+ราชบุีรี
+สุพรรณบุรี
+สระบุรี
+นครนายก
+สระแก้ว
+ปราจีนบุรี
+เพชรบุรี
+สมุทรปราการ
+สมุทรสงคราม
+สมุทรสาคร
ภาคใต้
+กระบี่ 
+สงขลา
+ตรัง 
+นครศรีฯ
+สุราษฎร์ธานี
+นราธิวาส   
+ระนอง
+พัทลุง
พังงา
+ ภูเก๊ต
+ สตูล

คอลัมน์ท่องเที่ยว
+คู่มือดูนก บ้านนก
+ปีนเขาที่ไร่เลย
+
นกนางแอ่น
+
ตักบาตรเทโว
+เรือหัวโทง
อ่านบทความอื่น

ข้อมูลท่องเที่ยว
พยากรณ์อากาศ
แผนที่ประเทศไทย

สถานที่ท่องเที่ยวไทย  unseen thailand  Amazing Thailand
Custom Search
สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย เที่ยว 5 ภาค อร่อยทั่วไทย unseen thailand
สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

การแสดงธรรมในครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะ 1 ใน 5ปัญจวัคคีย์ เกิด
ความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรมหรือ
บรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ท่านจึงขออุปสมบทในพระธรรมวินัย
ของพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระอัญญาโกณฑัญญะจึง
กลายเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก จึงทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์
สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลกคือ พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ
กงล้อแห่งพระพุทธศาสนาได้เริ่มต้น



ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง
และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลาง มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอน
และแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจ 4 คืออริยมรรคมีองค์
8
โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตาม
ขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่
นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

ส่วนที่สุดสองอย่าง ที่พระพุทธศาสนาปฏิเสธ อันได้แก่ กามสุขัลลิกา
นุโยค" คือการหมกมุ่นอยู่ในกามศก และ อัตตกิลมถานุโยค คือการ
ทรมานตนให้ลำบากโดยเปล่าประโยชน์

อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 (ทางสายกลาง)ได้แก่ 
1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง 
2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม 
3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต 
4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต 
5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต 
6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี 
7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด 
8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน 

อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่าง
ไกลจากกิเลส ได้แก่  
    
1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้
ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้า
ปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง
มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด   
2. สมุทัย ได้แก่เหตุเกิดแห่งทุกข์หรือสาเหตุของปัญหาตัวการสำคัญ
ของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัย
อื่นๆ  
3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทัน
โลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา  
4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8
ประการดังกล่าวข้างต้น  

โดยสรุป วันอาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญ เดือน 8 หรือ
การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันเพ็ญ เดือน 8 คือ
1. วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาเป็นครั้งแรก
2. วันที่พระพุทธเจ้าประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรก
3. เป็นวันที่เกิดอริยสงฆ์ครั้งแรกคือการที่ท่านโกณฑัญญะรู้แจ้งเห็นธรรม
เป็นพระโสดาบัน จัดเป็นอริยบุคคลท่านแรกในอริยสงฆ์
4. เป็นวันที่เกิดพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ การที่ท่านโกณฑัญญะ
ขอบรรพชาและ ได้บวชเป็นพระภิกษุ หลังจากฟังปฐมเทศนาและบรรลุธรรมแล้ว
5. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงได้ปฐมสาวกคือ การที่ท่านโกณฑัญญะนั้น ได้
บรรลุธรรม และบวชเป็นพระภิกษุ จึงเป็นสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้า

เมื่อเปรียบกับวันสำคัญอื่น ๆ ในพระพุทธศาสนา บางทีเรียกวันอาสาฬหบูชา
นี้ว่า วันพระสงฆ์ (คือวันที่เริ่มเกิดมีพระสงฆ์)

พุทธศาสนิกชนทุกคนควรรำลึกถึงพระพุทธเจ้า และร่วมกันทำบุญ ตักบาตร
รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์ ในตอนค่ำก็จะมีการเวียนเทียน
ที่เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนตลอดไป

ข้อมุลจากอ้างอิงจาก dhammathai.org, wikipedia

จองที่พักออนไลน์ทั่วไทยจองที่พักออนไลน์ทั่วไทย คอลัมน์ท่องเที่ยว วันเข้าพรรษา